กศน.ตำบลบ้านโป่ง เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ครั้งที่ 1 วันที่ 1 - 30 เมษายน ของทุกปี ครั้งที่ 2 วันที่ 1-31 ตุลาคม ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ

บทบาทหน้าที่กศน.ตำบล


บทบาทและภารกิจของ กศน. ตำบล                   กศน.ตำบล เป็นหน่วยงานในสังกัด กศน.อำเภอ มีฐานะเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชนและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในชุมชน
กศน.ตำบล มีภารกิจที่สำคัญ ดังนี้1. จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างน้อยปีงบประมาณละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรมดังนี้
1.  จัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายในชุมชนอย่างน้อยปีงบประมาณละ 560 คน โดยจำแนกเป็นรายกิจกรรมดังนี้
      1.1  การศึกษานอกระบบ 260 คน ประกอบด้วย
             1.1.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน  60  คน
             1.1.2 การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  จำนวน  20  คน
             1.1.3 การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  จำนวน 20 คน
             1.1.4 การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน จำนวน 60 คน
             1.1.5 กระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 100 คน
      1.2 การศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 300 คน
2. สร้างและขยายภาคีเครือข่ายเพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนของภาคีเครือข่าย ทั้งในแง่ของความเข็มแข็งและความต่อเนื่องในการมีส่วนร่วมและศักยภาพในการจัด
4. จัดทำระบบข้อมูล สถิติ และสารสนเทศ เกี่ยวกับประชากรกลุ่มเป้าหมายและผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนาและแผนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งในระดับชุมชนหรือระดับจุลภาค ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และภาพรวมระดับประเทศของสำนักงาน กศน.
5. จัดทำแผนงาน โครงการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยประจำปีงบประมาณ เพื่อจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายและชุมชน และพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงาน กศน. สำนักงาน กศน.จังหวัด และ กศน.อำเภอ ที่สังกัดเพื่อการสนับสนุนงบประมาณจาก กศน.อำเภอ ที่สังกัด โดยในกรณีของการจัดกิจกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้ยึดค่าใช้จ่ายรายหัว ตามที่มติคณะรัฐมนตรีกำหนดคูณด้วย จำนวนนักศึกษา 60 คน สำหรับกิจกรรมอื่นๆนั้น จัดทำแผนงาน โครงการเพื่อเสนอของบประมาณให้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ
6. ประสานและเชื่อมโยงการดำเนินการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบล โดยมีการประสานแผนการดำเนินงานภายในตำบลที่รับผิดชอบและ กับ กศน.อำเภอที่สังกัดตามกรอบจุดเน้นการดำเนินงานบนพื้นฐานของความเป็นเอกภาพ ด้านนโยบายและความหลากหลายในการปฎิบัติ
7. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในความรับผิดชอบตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรับรองการประกันคุณภาพภายนอก
ของ กศน.อำเภอ ที่สังกัด
            8. รายงานผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต่อ กศน.อำเภอ ที่สังกัด ตามแผนหรือข้อตกลงที่กำหนดไว้
            9. ปฏิบัติภารกิจอื่นๆที่ดีรับมอบหมายจาก กศน.อำเภอ สำนักงาน กศน.จังหวัด หรือ สำนักงาน กศน. และตามที่กฎหมายกำหนด.
บทบาทภารกิจหน้าที่ของครู กศน.ตำบล
     ครู กศน.ตำบลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  ดังนั้น  จึงมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญในการขับเคลื่อน กศน.ตำบลดังกล่าวคือ
1.       การวางแผนจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต  โดยมีกระบวนการทำงาน  ดังนี้
1.1   ศึกษาสำรวจชุมชนโดยละเอียดเพื่อจัดทำฐานข้อมูลชุมชน  ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลประชากรจำแนกตามตามอายุเพศ  อาชีพ ฯลฯ  ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทางภุมิศาสตร์  ประวัติชุมชน  ข้อมูลด้านอาชีพ  รายได้  ข้อมูลทางสังคม  ประเพณีวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.2   จัดทำเวทีประชาคมร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และหน่วยงานต่าง    เพื่อร่วมกันจัดทำแผนชุมชน  ที่ระบุความต้องการในการพัฒนาชุมชนความต้องการการเรียนรู้  หรือการศึกษาต่อ ฯลฯ  ของประชาชนในชุมชน
1.3   จัดทำโครงการด้านการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มาจากแผนชุมชนเนอต่อศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  อำเภอเพื่อขอรับการสนับสนุน  และประสาน  ของความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย
1.4   ประสานงานแสวงหาความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย  องค์กรปรครองส่วนท้องถิ่น  ตลอดจนอาสาสมัครต่าง ๆ  เพื่อร่วมจัดกิจกรรมการศึกษา  ตามอัธยาศัยของชุมชนที่รับผิดชอบ
2.      การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของ  กศน.  ตำบล  โดยจำแนกกิจกรรมการเรียนการสอน  ดังนี้
2.1  การส่งเสริมการรู้หนังสือ
2.2  การจัดการศึกษาในหลักสูตรการศึกษานอกระบบรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.3  การจัดการศึกษาต่อเนื่อง  หลักสูตรระยะสั้นเพื่อการพัฒนาอาชีพ (วิชาทำมาหากิน)  การพัฒนาทักษะชีวิตและการพัฒนาสังคมและชุมชน
2.4  การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
2.5  การจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หรือการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
ทั้งนี้ครู  กศน.  ตำบลจะมีบทบาทหลักเป็นผู้อำนวยความสะดวก   (Facilitater)  ให้กลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการได้รับประสบการณ์การเรียนรู้  โดยมีกระบวนการทำงาน  คือ
1)       วางแผนการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน  ในแต่ละกิจกรรม/หลักสูตรเกี่ยวกับวิธีเรียน  เวลาเรียน  การใช้สื่อหรือแบบเรียน  และการวัดผลประเมินผล
2)      ประสานงานเพื่อจัดหาวิทยากร  หรือผู้สอนในแต่ละรายวิชาหรือแต่ละหลักสูตรร่วมกับ  กศน.ตำบล  และจัดส่งผู้เรียนไปเรียนรู้ตามแผนที่วางไว้
3)      ให้คำปรึกษาแนะนำ  และเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรุ้อย่างมีประสิทธิภาพ  รวมทั้งคอยช่วยแก้ไขปัญหาในการเรียนและการสอนตลอด  หลักสูตร
4)      ประสานงานกับ  กศน.อำเภอ  เพื่อจัดหาสื่อและวัสดุอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละหลักสูตร
5)      ประสานงานกับ  กศน.  อำเภอ  เกี่ยวกับการวัดผลและประเมินผลในแต่ละหลักสูตร  เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
6)      สรุปผลและรายงานผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ต่อ  กศน.อำเภอ
3.      การให้บริการการเรียนรู้ใน กศน.ตำบล  โดยเฉพาะกิจกรรมศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน  ศูนย์บริการชุมชน  ซึ่งนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เช่น
3.1   กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน  และมุมห้องสมุดชุมชน
3.2   การให้บริการสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ  เช่น  โทรทัศน์  วีดีทัศน์  รายการวิทยุเพื่อการศึกษา
3.3   การประสานงานสนับสนุนศูนย์ซ่มสร้างเพื่อชุมชน  (Fit it Center)  หรือช่างชนบท
4.       การสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน  ทั้งด้านสังคม  วัฒนธรรม  ประเพณี รวมทั้งสนับสนุนการใช้บริการของประชาชนในชุมชน  เพื่อเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในชุมชน  รวมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมขององค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐอื่น ฟ  และส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมในชุมชน  เช่น  กลุ่มแม่บ้าน  กลุ่มเยาวชน  ชมรมผู้สูงอายุ  ชมรมคุ้มครองผุ้บริโภค  สภาเด็กและเยาวชน  และองค์กรนักศึกษา  กศน.  เป็นต้น
5.      การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ในชุมชน  โดยการประสานขอความร่วมมือจากภาคีเครือข่าย  องค์กรชุมชนผู้รู้  ผู้ทรงคุณวุฒิ  ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อร่วมเป็นอาสาสมัคร  กศน.  อาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน  เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น