กศน.ตำบลบ้านโป่ง เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ครั้งที่ 1 วันที่ 1 - 30 เมษายน ของทุกปี ครั้งที่ 2 วันที่ 1-31 ตุลาคม ของทุกปี ในวันและเวลาราชการ

ข้อมูลชุมชนเทศบาลเมืองบ้านโป่ง


ประวัติตำบลบ้านโป่ง

แต่เดิมเรียกว่า " ตำบลบ้านโป่ง "  ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้งตำบลบ้าน โป่งขึ้นเป็น "สุขาภิบาลบ้าน โป่ง" เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2459     เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการตรา พระราชบัญญัติ จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 และได้ประกาศ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสุขาภิบาลบ้านโป่งขึ้นใหม่เป็น   " เทศบาล เมืองบ้านโป่ง " เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2478 ในเริ่มแรกเรียกว่าสมัยเริ่มกระทรวงมหาดไทย ได้แต่งตั้งคณะผู้บริหาร       ที่มีความรู้ ความสามารถ และเสียสละเพื่อส่วนรวม มีนายบุญ เชาว์ฉลาด  เป็นนายกเทศมนตรี  มีขุนดำเนินสวัสดิ์ (อดีตกำนันตำบลบ้านโป่ง) และ นายบุญนาค กลิ่นหอม    เป็นมนตรี  (เทศมนตรี)    เข้าบริหารกิจการของเทศบาล     เป็นคณะแรก   สำนักงานเทศบาลเมืองบ้านโป่ง เดิมตั้งอยู่ระหว่างที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง    กับที่ทำการ ไปรษณีย์โทรเลขบ้านโป่ง (ปัจจุบันเป็นศูนย์การค้าของเทศบาล) และต่อ มาในสมัย        นายกิจ ทรัพย์เย็น  เป็นนายกเทศมนตรี ได้พิจารณาเห็นว่าสำนักงาน เทศบาลเริ่มคับแคบ     จึงได้ซื้อที่ดิน ริมถนนทรงพล ตรงข้ามวัดดอนตูมปลูกเป็นสำนักงานเทศบาลเมืองบ้านโป่งขึ้นใหม่  เป็นอาคารแบบทันสมัย  2  ชั้น  และเปิดทำการเมื่อวันที่  9  กุมภาพันธ์  2507  (ตรงกับวันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ  เดือน 3)  และเมื่อปี พ.ศ. 2530 ในสมัย นายพยุง เจริญสุข เป็นนายกเทศมนตรีได้ ปรับปรุงอาคารสำนักงานเทศบาลเป็นอาคาร 4 ชั้น  เชื่อมกับอาคาร 2  ชั้น  และในปี  พ.ศ. 2541ในสมัย นายวัฒนา เจษฎาฐิติกุล  เป็นนายกเทศมนตรี ได้ทำการรื้อถอนอาคาร 2 ชั้น แล้วก่อสร้าง ใหม่เป็นอาคาร 4 ชั้น ต่อเชื่อมกับอาคาร 4 ชั้นเดิม แล้วเสร็จ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2542
ลักษณะที่ตั้ง 
       เทศบาลเมืองบ้านโป่งมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ถนนบ้านดอนตูม ตำบลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี (ตรงข้ามวัดดอนตูม)  มีพื้นที่รับผิดชอบจำนวน  2.91  ตารางกิโลเมตร  หรือ  1,819 ไร่ (ร้อยละ 0.75 ของพื้นที่อำเภอบ้านโป่ง) โดยพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลองบริเวณริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 323 และทางรถไฟสายกรุงเทพสายใต้,กาญจนบุรีหนองปลาดุก
มีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯประมาณ  70    กิโลเมตร  โดยทางรถยนต์
พื้นที่ของเทศบาลมีอาณาเขตติดต่อใกล้เคียง  ดังนี้
ทิศเหนือ
ติดต่อกับ  ตำบลปากแรตและตำบลท่าผา
ทิศใต้  
ติดต่อกับ  ตำบลสวนกล้วย
ทิศตะวันออก
ติดต่อกับ  ตำบลปากแรต
ทิศตะวันตก  
ติดต่อกับ  แม่น้ำแม่กลอง
ประชากร
     จำนวนประชากรตามสถิติการทะเบียนราษฎรในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง    เดือน กันยายน  พ.ศ. 2565  มีจำนวนทั้งสิ้น 15,564 คน
แยกเป็น ชายจำนวน  7,234 คน  หญิงจำนวน 8,312  คน
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
       
การคมนาคม  การจราจร
  การคมนาคมขนส่งในเขตเทศบาลใช้ยานพาหนะทางบกเป็นหลัก เช่น รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ โดยถนนสายหลัก ในเขตเทศบาล
ที่เป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างชุมชน  มีจำนวน  4  สาย คือ ถนนทรงพล  ถนแสงชูโต  ถนนริมน้ำค่าย หลวงและถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.ถนนในเขตเทศบาลมีจำนวนประมาณ 94 สาย แบ่งเป็น ถนน แอสฟัลท์ติก 74 สาย ถนนคอนกรีต 17 สาย และถนนลูกรัง 3 สายสำหรับ การคมนาคมและการขนส่งระหว่างอำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรีและจังหวัดใกล้เคียง ที่สำคัญ ได้แก่  รถยนต์  รถไฟ  และเรือ

ทางรถยนต์
ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) เป็นเส้นทางสายหลักติดต่อระหว่างจังหวัดใกล้เคียงในภาคกลางไปยังภาคใต้ 
ผ่านอำเภอบ้านโป่ง  โพธาราม  ดำเนินสะดวก  เมืองราชบุรีและภาคใต้  ระยะทางระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดราชบุรีประมาณ  100  กม.
ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลย  3232  (บ้านโป่งกาญจนบุรี)  แยกจากถนนเพชรเกษมบริเวณกิโลเมตรที่  66  ผ่านบ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วงแล้วไปยัง จังหวัดกาญจนบุรี
ทางหลวงจังหวัดสาย  3089  (เขางูเบิกไพรบ้านโป่ง)  ระยะทางประมาณ  46 กม. เชื่อมต่อระหว่างอำเภอเมืองราชบุรีกับอำเภอบ้านโป่ง
ทางรถไฟ
ทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ  ผ่านอำเภอบ้านโป่ง  โพธาราม  เมืองราชบุรี  ปากท่อระยะทางรถไฟผ่านจังหวัด 
ประมาณ  65 กม. ต่อไปยัง จังหวัดเพชรบุรีและภาคใต้มีเส้นทางแยกที่ชุมทางหนองปลาดุกไปยัง จังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี
ทางน้ำ
โดยใช้แม่น้ำแม่กลองเป็นเส้นทางในการคมนาคมขนส่ง
การประปา
       การดำเนินกิจการประปาในเขตเทศบาลอยู่ในความรับผิดชอบของการประปาส่วนภูมิภาคบ้านโป่ง  ซึ่งมีพื้นที่ความรับผิดชอบครอบคลุมทั้งอำเภอ
ไฟฟ้า
        การดำเนินการเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับประชาชนในเขตเทศบาล  อยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อำเภอบ้านโป่ง  ซึ่งมีพื้นที่ความรับผิดชอบครอบคลุมทั้งอำเภอ โดยการไฟฟ้าฯ ได้ดำเนินการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าหลายประการ

        ในส่วนของเทศบาลเมืองโป่งนั้นหน้าที่รับผิดชอบ คือ การจัดให้มีไฟฟ้าสาธารณะตามถนนสายต่างๆ และที่สาธารณะในเขตเทศบาลตามความจำเป็น รวมถึงการ ซ่อมแซมโคมไฟฟ้าและอุปกรณ์เมื่อมีการชำรุดเสียหาย  นอกจากนี้เทศบาลยังมีหน้าที่จัดสัญญาณไฟจราจรตามจุดต่างๆ ที่มีความจำเป็นอีกด้วย
การสื่อสารและโทรคมนาคม
สำนักงานบริการโทรศัพท์
       ในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่งมีจำนวน 1 แห่ง  ได้แก่  สำนักงานบริการโทรศัพท์บ้านโป่ง  พื้นที่บริการครอบคลุม ทั้งอำเภอบ้านโป่ง  แบ่งเป็น  6  ชุมสาย  คือ  ชุมสายบ้านโป่ง  ชุมสายห้วยกระบอก  ชุมสายกระจับ  ชุมสายหนองกบ  ชุมสายบ้านฆ้อง  และชุมสายหนองเสือ

บริษัทไปรษณีย์ไทยจำกัด
ในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง  มีจำนวน  1  แห่ง  ได้แก่  บริษัทไปรษณีย์ไทย  จำกัด สาขาบ้านโป่ง

ระบบกระจายเสียง
       ระบบกระจายเสียงของเทศบาลเป็นระบบเสียงชนิดไร้สาย  สามารถให้บริการครอบคลุมร้อยละ 80  ของพื้นที่  แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับปรุง

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น

        มีจำนวน  10  ฉบับ  คือ  ยอดแหลม   ธรณีไทย  มติธรรม  พลังชน  เสียงประชาชนสู่ชนบทข่าวภาค หลักเมือง  ข่าวภูมิภาค  ราชบุรีนิวส์
ลักษณะการใช้ที่ดิน
       การใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง  โดยสังเขป  มีดังนี้
บริเวณพาณิชยกรรม
        รวมเป็นกลุ่มหนาแน่นบริเวณถนนทรงพล  ซึ่งอยู่ในแนวทิศตะวันออกตะวันตก และถนนแสงชูโต  ซึ่งอยู่ในแนวทิศเหนือใต้  และเนื่องจากบริเวณถนนสาย ย่อยที่แยกจากถนนสายหลักดังกล่าวอยู่ในระบบตาราง  จึงทำให้ย่านธุรกิจการค้าดูเหมือนเป็นสัดส่วนเดียวกัน


บริเวณที่พักอาศัย

        กระจายอยู่ทั่วไปในเขตเทศบาลเมืองบ้านโป่ง โดยจะเกาะกลุ่มค่อนข้างมากบริเวณใกล้กับย่าน พาณิชยกรรมและจะมีลักษณะบางเบาลงเมื่ออยู่ห่างออกไป จากย่านดังกล่าว

บริเวณอุตสาหกรรมและคลังสินค้า

        กระจายอยู่ทั่วไปในเขตเทศบาล  โดยเฉพาะบริเวณถนนสายหลัก  เช่น  ถนนทรงพล  ถนนแสงชูโต  ถนนปากแรต  ถนนเขางูเบิกไพร

บริเวณสถาบันราชการ

        อยู่บริเวณย่านพาณิชยกรรม  ระหว่างถนนแสงชูโต  และ  ถนนเลียบริมแม่น้ำแม่กลอง
ด้านเศรษฐกิจ
 
1.  โครงสร้างทางเศรษฐกิจ
       อาชีพของประชาชนในเขตเทศบาลที่สำคัญ  ได้แก่  การค้าขาย ซึ่งมีทั้งการค้าปลีกและการค้าส่ง  การประกอบอุตสาหกรรมขนาดเล็ก  เช่น  อู่ซ่อมรถ  และ  การรับจ้างทั่วไป
2.  การเกษตรกรรม  การปศุสัตว์และการประมง
       การประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม  ปศุสัตว์  และการประมงของประชาชนในเขตเทศบาลอยู่บริเวณริมแม่น้ำแม่กลอง  แต่มีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับพื้นที่นอกเขตเทศบาล
3.  การอุตสาหกรรม  พาณิชยกรรมและการบริการ
       การประกอบอาชีพภาคอุตสาหกรรมพาณิชยกรรมและการบริการถือเป็นอาชีพหลักของประชาชนในเขตเทศบาล  ประเภทของอุตสาหกรรมที่สำคัญ  เช่น  อู่ซ่อมรถยนต์  ไม้แปรรูป  เครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์  ในส่วนของภาคธุรกิจการค้าและการบริการในเขตเทศบาลนั้นจะอยู่ในรูปร้านค้า  ร้านอาหาร  โรงแรม  และสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
จำนวนสถานประกอบการในแต่ละประเภท
สถานประกอบการค้าด้านพาณิชยกรรม
1. สถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
จำนวน     8  แห่ง
2.  ห้างสรรพสินค้า
จำนวน     1  แห่ง
3.  ตลาดสด
จำนวน     2  แห่ง
4.  ร้านค้าทั่วไป
จำนวน   245 แห่ง
สถานประกอบการเทศพาณิชย์
1.  สถานธนานุบาล
จำนวน     1  แห่ง
2.  โรงฆ่าสัตว์
จำนวน     1  แห่ง
สถานประกอบการด้านบริการ
1.  โรงแรม
จำนวน     8  แห่ง
2.  ธนาคาร
จำนวน    10  แห่ง
3.  สถานที่จำหน่ายอาหารตามพระราชบัญญัติสาธารณสุข
จำนวน   308 แห่ง

การท่องเที่ยว
        ในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองบ้านโป่งไม่ปรากฏว่ามีแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม  หรือใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจได้  เทศบาลจึงไม่มีรายได้จัดเก็บในส่วนนี้
ด้านสังคม
ชุมชน
ชุมชนภายในเขตเทศบาล  มีจำนวน  32   ชุมชน  ประกอบด้วย
1.  ชุมชนหลวงสิทธิ์เทพการ                     
2.  ชุมชนหลังโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
3.  ชุมชนซอยโรงธูป
4.  ชุมชนบ้านไทยสามัคคี
5.  ชุมชนประชาร่วมใจ บ้านโป่งใหม่
6.  ชุมชนประปาใหม่
7.  ชุมชนศิริทวี 
8.  ชุมชนซอยบุญทำดี
9.  ชุมชนค่ายหลวงพัฒนา
10.  ชุมชนสิทธิกิจพัฒนา
11.  ชุมชนไกรฤกษ์
12.  ชุมชนหมู่บ้านลาภอนันต์
13.  ชุมชนหน้าวัดดอนตูม
14.  ชุมชนหมู่บ้าน  ซีเค  1
15.  ชุมชนหมู่บ้าน ซี.เค.2
16.  ชุมชนหลวงเวชสิทธิ์นิรภัย
17.  ชุมชนบุญญลักษณ์
18.  ชุมชนหลังโรงพิมพ์ผดุงศิลป์
19.  ชุมชนมายเฮาส์
20 . ชุมชนโรงเรียนดุสิตวิทยา
21. ชุมชนแยกโคกหม้อ
22. ชุมชนตลาดบ้านโป่ง(ถนนประชานิยม)
23.ชุมชนโฆษิตสกุล
24. ชุมชนวัดดอนตูม
25. ชุมชนตลาดโต้รุ่ง
26.ชุมชนหน้าโรงพยาบาลบ้านโป่ง
27. ชุมชนหน้าสถานีรถไฟบ้านโป่ง
28.ชุมชนหมู่บ้านเจริญสุข
29. ชุมชนถนนทรงพล
30. ชุมชนหน้าอำเภอ
31. ชุมชนถนนแสงชูโต
32. ชุมชน ปตท.
ศาสนา
       ศาสนาอันเป็นที่นับถือของประชากรในเขตเทศบาลที่สำคัญ ได้แก่  ศาสนาพุทธ  ศาสนาคริสต์  และศาสนาอิสลาม ศาสนสถานเพื่อประกอบพิธีกรรมใน เขตเทศบาล     มีจำนวน  4  แห่ง  ได้แก่  วัดบ้านโป่ง  วัดดอนตูม  วัดนำบุญยอเซฟ และมัสยิดบ้านโป่ง  เทียบศาสนาสถานในอำเภอบ้านโป่ง  จำนวน  63  แห่ง

วัฒนธรรม
ประเพณีท้องที่สำคัญในเขตเทศบาลมีดังนี้  (ตามลำดับความสำคัญ)
       ประเพณีลอยกระทง  ประเพณีแข่งเรือยาวชิงโล่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ตรงกับวันลอยกระทง (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)  ของแต่ละปี
กิจกรรมสังเขป  
การแข่งขันเรือยาว
1.             การประกวดกระทงประเภทต่างๆ
2.             การประกวดหนูน้อยนพมาศ
3.             การประกวดการขับร้องเพลง
ประเพณีสงกรานต์  ระหว่างวันที่  13 – 15 เมษายน  ของแต่ละปี
กิจกรรมสังเขป                             
1.  พิธีสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ
2.  การประกวดขบวนรถ  การประกวดคนงามบ้านโป่ง
3.  ประเพณีแห่งเทียนพรรษา  ตรงกับวันอาสาฬหบูชา  (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ของแต่ละปี
กิจกรรมสังเขป                             
1.  พิธีถวายต้นเทียนและประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ
2.  การประกวดขบวนรถ
3.  เทศกาลกินเจ  ช่วงปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคมของแต่ละปี
กิจกรรมสังเขป                             
การประกวดอาหารเจสะอาด  รสชาติอร่อย
ประเพณีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่  ในวันที่  31  ธันวาคม และ 1 มกราคม  ของปีถัดไป
กิจกรรมสังเขป                             
1.  การทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพรสงฆ์
2.  การแสดงมหรสพต่างๆ
การศึกษา



      สถานศึกษาในเขตเทศบาลมีจำนวน    13    แห่ง               จากจำนวน    73    แห่ง          ในเขตอำเภอบ้านโป่ง    เป็น สถานศึกษาในสังกัดเทศบาล  จำนวน  3  แห่ง  ได้แก่  โรงเรียนเทศบาล 1 ทรงพลวิทยา  โรงเรียนเทศบาล 2 วัดบ้านโป่ง  โรงเรียนเทศบาล 3 ประชายินดี  เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 10 แห่ง  ได้แก่  โรงเรียนอุดมวิทยา  โรงเรียนดุสิตวิทยา  โรงเรียนฮกเฮง  โรงเรียนสามัคคีคุณูปถัมภ์ โรงเรียนบ้านโป่งวิทยาคม  โรงเรียนนารีวุฒิ  โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย  โรงเรียนบ้านโป่งบริหารธุรกิจ เทคโนโลยี  โรงเรียนวัดดอนตูม  และ  โรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง
กีฬา นันทนาการ การพักผ่อน

กีฬา
     เทศบาลเมืองบ้านโป่งมีศูนย์เยาวชนซึ่งเป็นของเทศบาลเอง จำนวน 1 แห่ง ภายในประกอบด้วยสนามฟุตบอล จำนวน 1 แห่ง  สระว่ายน้ำ  จำนวน  2  แห่ง สำหรับเด็กและผู้ใหญ่และโรงยิมเนเซียม ซึ่งภายใน สามารถดัดแปลงเป็นสนามแข่งขันกีฬาได้หลายประเภท เช่น บาสเก็ตบอล    วอลเลย์บอล  เซปักตะกร้อ นอกจากนี้พื้นที่ภายนอกศูนย์เยาวชนยังมีสนามเปตอง 2 แห่ง และสนามเซปักตะกร้ออีก 1 แห่ง ในแต่ละชุมชนของเทศบาลจะมีลานกีฬาต้านยาเสพติดสำหรับเด็ก เยาวชนออกกำลังกาย     สำหรับชุมชนร่วมใจพัฒนา(ศิริทวี) ชุมชนซอยโรงธูป        และชุมชนค่ายหลวงพัฒนาลานกีฬายังได้ถูกดัดแปลงใช้เป็นสถาน
ที่เต้นแอโรบิกสำหรับประชาชนด้วย


นันทนาการการพักผ่อน
       ในส่วนของกิจกรรมนันทนาการและการพักผ่อนนั้น  เทศบาลเมืองบ้านโป่ง ได้จัดพื้นที่สวนสาธารณะขึ้น จำนวน  3  แห่ง  สำหรับเป็นที่พักผ่อนใจให้กับประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดประชาชนของหน่วยงานการศึกษานอกโรงเรียน  กระทรวงศึกษาธิการอีกจำนวน 1 แห่ง เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้
สาธารณสุข
สถานพยาบาลในเขตเทศบาล  ประกอบด้วย โรงพยาบาล  จำนวน  2  แห่ง  ได้แก่
1)  โรงพยาบาลบ้านโป่ง  (รัฐบาล)
2)  โรงพยาบาลวัฒนเวช (เอกชน)
ศูนย์บริการสาธารณสุขของเทศบาล  จำนวน  1  แห่ง
ร้านขายยาและคลินิกรักษาพยาบาล  จำนวนประมาณ  40  แห่ง
บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเขตเทศบาล  ประกอบด้วย
1.  แพทย์ 
รวม  51  คน  (ภาครัฐ  39  คน, ภาคเอกชน  12  คน)
2.  ทันตแพทย์
รวม   14  คน  (ภาครัฐ  6  คน, ภาคเอกชน  8  คน)
3.  เภสัชกร
รวม   21  คน  (ภาครัฐ  13  คน, ภาคเอกชน  8  คน)
4.  พยาบาล
รวม  379  คน  (ภาครัฐ  361  คน, ภาคเอกชน  18  คน)
5.  บุคลากรอื่นๆ ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการักษาพยาบาล
รวม  97  คน (ภาครัฐ 88 คน, เอกชน 9 คน)
6.  อสม.  (อาสาสมัครสาธารณสุขในเขตเมือง)
รวม  112  คน

การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
บุคลากรด้านการดับเพลิงและวัสดุอุปกรณ์
       -  พนักงานดับเพลิง                                             จำนวน    28  คน
       -  รถดับเพลิงชนิดหอน้ำพร้อมบันไดสูง 18 เมตร  จำนวน      1  คัน
       -  รถยนต์ดับเพลิง                                               จำนวน      3  คัน
       -  รถกู้ภัย                                                            จำนวน      1  คัน
       -  รถบรรทุกน้ำอเนกประสงค์                               จำนวน      3  คัน
       -  เรือยนต์ดับเพลิง                                              จำนวน      2  ลำ
       -  เครื่องดับเพลิงชนิดหาบหาม                            จำนวน      2  เครื่อง
ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
1.  ทางระบายน้ำ
       ประกอบด้วยคลองดาดคอนกรีตที่สำคัญ  2  แห่ง  ได้แก่  คลองมหาราชและคลองหลวงสิทธิ์

2.  การระบายน้ำ
       -  พื้นที่น้ำท่วมถึงคิดเป็นร้อยละ  5  ของพื้นที่ทั้งหมด
       -  ระยะเวลาเฉลี่ยที่น้ำท่วมขังนานที่สุด  ประมาณ  15  วัน  อยู่ในช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือน มิ.ย. ส.ค.
       -  เครื่องสูบน้ำของเทศบาลจำนวน  6  เครื่อง  เป็นเครื่องขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว และ 4 นิ้ว
       -  ระบบบำบัดน้ำเสียที่ใช้มีลักษณะเป็นบ่อผึ้ง  ( Stabilization Pond )
       -  พื้นที่ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียประมาณ  52  ไร่

3.  ขยะ
       -  ปริมาณขยะ  ประมาณวันละ  35  ตัน
       -  รถยนต์ที่ใช้เก็บขยะ  รวม  6  คัน
       -  ขยะที่เก็บได้  จำนวน  35 ตัน / วัน  ใช้วิธีกำจัดขยะแบบฝังกลบ
       -  ที่ดินสำหรับกำจัดขยะที่กำลังใช้มีจำนวนประมาณ  25  ไร่  ตั้งอยู่ที่หมู่ 17 ตำบลปากแรต  เป็นที่ดินที่อยู่ในลักษณะการเช่าเอกชน  ซึ่งเทศบาลได้เช่ามาตั้งแต่ปี  พ.ศ. 2542  โดยเสียค่าเช่าปีละ 1,296,000  บาท


 









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น